เฉากั๋วจิ้ว (จีน 曹國舅 พินอิน Cáo Guójiù) ชื่อจริงว่า เฉา อี้ (曹佾) และชื่อรองว่า จิ่งซิว (景休) เป็นบุคคลในประมวลเรื่องปรัมปราจีน ลัทธิเต๋าจัดเข้าเป็นเซียนองค์หนึ่งในกลุ่มโป๊ยเซียน (แปดเซียน) เชื่อกันว่า เฉากั๋วจิ้วสืบเชื้อสายมาจากเฉา ปิน (曹彬) ขุนพลในต้นยุคราชวงศ์ซ่ง คำว่า กั๋วจิ้ว มิใช่ชื่อ แต่เป็นคำเรียกขานซึ่งมีผู้เห็นต่างเกี่ยวกับความหมายเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกว่า ควรแปลว่า พระเจ้าน้า เพราะเขาเป็นพระอนุชาของจักรพรรดินีเฉา (曹皇后) พระมารดาบุญธรรมของจักรพรรดิซ่งอิงจง (宋英宗) จึงอาจถือว่า มีศักดิ์เป็นน้าทางแม่ของจักรพรรดิซ่งอิงจง กลุ่มที่สองว่า ควรแปลว่า น้องเมียกษัตริย์ เพราะเขาเป็นพระอนุชาของจักรพรรดินีเฉา พระมเหสีของจักรพรรดิซ่งเหรินจง (宋仁宗) จึงมีศักดิ์เป็นน้องเมียของจักรพรรดิซ่งเหรินจงเฉากั๋วจิ้วมักได้รับการแสดงภาพว่า สวมชุดขุนนาง และถือแท่นหยกประจำตำแหน่ง นอกจากนี้ ยังถือกันว่า เขาเป็นเทพประจำสาขาการแสดงและการละครต่าง ๆ jumbo jili จีนเป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่และซับซ้อนที่สุดของโลก วัฒนธรรมจีนย้อนกลับไปได้นับพัน ๆ ปี ชาวฮั่นบางส่วนเชื่อว่าพวกเขาล้วนมีบรรพบุรุษร่วมกัน ซึ่งเล่าปรัมปราถึงหัวหน้าชนเผ่าอาวุโส จักรพรรดิเหลืองและจักรพรรดิยันเมื่อหลายพันปีก่อน ดังนั้นชาวฮั่นบางส่วนจึงเรียกตนเองว่า ลูกหลานของจักรพรรดิเหลืองและเหยียน วลีที่มีความหมายโดยนัยสะท้อนบรรยากาศการเมืองที่แตกแยกดังในจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน ตลอดประวัติศาสตร์ของจีน…
Tag: เทพเจ้าแห่งโอลิมปัส
ม่าจ้อโป๋
ม่าจ้อโป๋ หรือ ม่าโจ้ว หรือ ไฮตังม่า (จีน 媽祖 มาจู่) เป็นเทวีแห่งทะเลตามคติศาสนาชาวบ้านจีน ที่ได้รับความเคารพในหมู่ชาวฮกเกี้ยน ชาวแต้จิ๋ว และชาวจีนโพ้นทะเล ที่ประกอบอาชีพประมงและเดินเรือ มาจ้อโป๋ เป็นเทพที่ได้รับการสักการะในช่วงต้นศตวรรษที่ 10 ในช่วงราชวงศ์ซ่ง ปัจจุบันการนับถือมาจ้อโป๋มีอยู่ทั่วทุกมุมโลก โดยมีศาลเจ้ามาจ้อโป๋มากถึง 3,000 แห่ง และถือว่าเป็นเทพที่ได้รับการนับถือมากที่สุดของไต้หวันอีกด้วย โดยถือว่าเป็นความเชื่อหรือศาสนาพื้นถิ่นของไต้หวัน มีการก่อตั้งเป็นสมาคมขึ้นมา โดยผู้ที่เคารพนับถือจะมีพิธีกรรมเดินทางแสวงบุญด้วยเท้า ตั้งแต่เวลากลางดึก พร้อมกับขบวนแห่เทวรูปของมาจ้อโป๋ไปตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นระยะเวลานานถึง 9 วัน เชื่อกันว่าเมื่อขบวนแห่ของมาจ้อโป๋ผ่านมาถึงที่ไหน ผู้ที่อาศัยอยู่ที่นั่นจะได้รับความสงบสุข ความสามัคคีในครอบครัว ตลอดจนความสำเร็จในชีวิต และในพิธีกรรมนี้ยังมีการจัดเลี้ยงอาหารไปตลอดทางอีกด้วย jumbo jili ในประเทศไทย ม่าจ้อโป๋ มักจะถูกเข้าใจผิดในหมู่ชาวไทยว่าคือเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งความจริงแล้วเจ้าแม่ทับทิมแท้คือจุ้ยบ้วยเนี้ย (水尾聖娘) เทวีอีกองค์หนึ่งที่ถือว่าเป็นเทพแห่งท้องทะเลหรือการเดินเรือเช่นเดียวกัน โดยจุ้ยบ้วยเนี้ยจะเป็นที่นับถือของชาวไหหลำ ในขณะที่ม่าจ้อโป๋จะเป็นที่นับถือของชาวฮกเกี้ยน และชาวแต้จิ๋ว ซึ่งในอดีตยุคที่ยังมีการค้าขายกันระหว่างไทยกับจีนด้วยเรือสำเภา ชาวไหหลำจะเดินทางมาถึงประเทศไทยในช่วงต้นปี คือ ราวเดือนมกราคม เนื่องจากเกาะไหหลำนั้นมีทำเลที่ตั้งอยู่ใกล้ประเทศไทยกว่า และจะทำการสักการะบูชาจุ้ยบ้วยเนี้ย เมื่อชาวฮกเกี้ยนและแต้จิ๋วเดินทางมาถึงจะอยู่ในราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ถึงต้นเดือนมีนาคม เนื่องจากมณฑลกวางตุ้งและฮกเกี้ยนตั้งอยู่ในแผ่นดินใหญ่ซึ่งไกลกว่า และก็ทำการสักการะม่าจ้อโป๋ด้วยเช่นกัน จึงทำให้เกิดความสับสนระหว่างเทพีทั้งสอง อีกทั้งเครื่องประดับยังใกล้เคียงกันอีกด้วย คือ เป็นเครื่องทรงสีแดง…
ตี่บ้อเนี่ยเนี้ย
ตี่บ้อเนี่ยเนี้ย (จีน 地母娘娘) เป็นเทวีแห่งแผ่นดินตามคติศาสนาชาวบ้านจีนศาสนาชาวบ้านจีน หรือ ศาสนาเฉิน (อังกฤษ Shenism มาจาก จีน 神 Shén แปลว่า เทพเจ้า) หรือ เทวนิยมแบบจีน เป็นขนบทางศาสนาของชาวฮั่น ที่มาจากการบูชาบรรพชนและพลังธรรมชาติ การไล่ผี รวมถึงความเชื่อในระบบธรรมชาติที่เป็นไปตามอิทธิพลของมนุษย์และอมนุษย์ตามที่ปรากฏในเรื่องปรัมปราจีน เมื่อถึงคริสต์ศตวรรษที่ 11 (ราชวงศ์ซ่ง) คติเหล่านี้เริ่มผสมผสานกับความเชื่อเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดของศาสนาพุทธ และลำดับชั้นเทพเจ้าของลัทธิเต๋า จนก่อให้เกิดระบบศาสนาที่แพร่หลายดังปัจจุบัน ศาสนาพื้นบ้านจีนมีที่มา รูปแบบ ภูมิหลัง พิธีกรรม และปรัชญา ที่แตกต่างหลากหลาย แต่มีแนวคิดหลักร่วมกันคือ สวรรค์เป็นที่มาของศีลธรรม เอกภพมีพลังงานชีวิต และบรรพชนเป็นผู้ควรเคารพนับถือ ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ราชสำนักยินยอมให้แต่ละชุมชนนับถือศาสนาชาวบ้านของตนได้หากทำให้สังคมมีระเบียบ แต่จะปราบปรามทันทีที่พบว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของราชสำนัก หลังระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ล่มสลายลง รัฐบาลและชนชั้นนำเริ่มมองว่าศาสนาพื้นบ้านเป็นเรื่องงมงายและล้าสมัยของพวกศักดินา จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในประเทศไต้หวันและคริสต์ศตวรรษที่ 21 ในประเทศจีน ปัญญาชนจึงเริ่มยอมรับศาสนาชาวบ้านมากขึ้นชาวจีนฮั่น,ฮั่นจู๋,ชาวฮั่น(จีน 漢人 พินอิน Hànrén แปลตรงตัว ชาวฮั่นหรือ 漢族, พินอิน Hànzú, มีความหมายแปลว่า ชาติพันธุ์ฮั่นหรือ กลุ่มชาติพันธุ์ฮั่น) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในเอเชียตะวันออกและมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนชาวฮั่นถือเป็นประชากรส่วนใหญ่ในประเทศจีน ผลสำรวจจำนวนประชากรในปลายคริสต์ศตวรรษที่…
เปาบุ้นจิ้น
เปา เจิ่ง ในภาษาจีนมาตรฐาน หรือ เปาจิ้น ในภาษาจีนฮกเกี้ยน (จีน 包拯 พินอิน Bāo Zhěng 11 เมษายน ค.ศ. 999 — 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1062) วรรณกรรมเรียก เปา เหวินเจิ่ง ในภาษาจีนมาตรฐาน หรือ เปาบุ้นจิ้น ในภาษาจีนฮกเกี้ยน (包文拯) เป็นข้าราชการชาวจีนในรัชสมัยจักรพรรดิเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่งของจักรวรรดิจีน ตลอดเวลา 25 ปีที่รับราชการนั้น เปา เจิ่ง แสดงออกซึ่งความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นกลางอย่างเสมอหน้า ในระหว่าง ค.ศ. 1057 ถึง 1058 เขาได้เป็นผู้ว่าการนครไคเฟิง เมืองหลวงของราชวงศ์ซ่ง และได้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลงหลายประการในระบบราชการเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ปวงชนผู้เดือดร้อน ทำให้เขาได้รับยกย่องจนกลายเป็นตำนาน ในช่วงชีวิตราชการของเขา เขายังได้รับฉายาว่า เปาชิงเทียน (包青天 เปาผู้ทำให้ฟ้ากระจ่าง) เพราะได้ช่วยเหลือคนธรรมดาสามัญให้รอดพ้นจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง ปัจจุบัน เปา เจิ่ง ได้รับการสดุดีในจีนแผ่นดินใหญ่ให้เป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของความยุติธรรม เรื่องราวชีวิตของเขาได้รับการดัดแปลงเป็นวรรณกรรมแนวสืบสวนสอบสวนและกำลังภายในมาแต่โบราณ ซึ่งได้รับความนิยมมาตราบทุกวันนี้ ในตำนานกระแสหลัก เปา เจิ่ง มักได้รับการพรรณนาว่า…
ฝูซู
ฝูซู ตามภาษาจีนมาตรฐาน หรือ ฮูโซ ตามภาษาจีนฮกเกี้ยน (จีนตัวย่อ 扶苏 จีนตัวเต็ม 扶蘇 พินอิน Fúsū สิ้นพระชนม์ 210 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระโอรสองค์หัวปีและรัชทายาทของฉินฉื่อหฺวังตี้ (秦始皇帝) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินของจักรวรรดิจี หลังจากถูกนักเล่นแร่แปรธาตุสองคนหลอกลวงว่า จะแสวงหายาอายุวัฒนะมาถวาย ฉินฉื่อหฺวังตี้รับสั่งให้จับราชบัณฑิตกว่า 460 คน หรือเอกสารบางฉบับว่ากว่า 1,160 คน ในพระนครเสียนหยาง ไปฝังทั้งเป็น ฝูซูจึงทูลพระบิดาว่า บ้านเมืองเพิ่งเป็นปึกแผ่น ศัตรูยังไม่ราบคาบ มาตรการรุนแรงที่กระทำต่อผู้นับถือลัทธิขงจื๊อเช่นนี้มีแต่จะสร้างความร้าวฉานให้แก่แผ่นดิน แต่ฉินฉื่อหฺวังตี้ไม่ทรงฟัง กลับส่งฝูซูไปรักษาด่านชายแดน เท่ากับเนรเทศโดยพฤตินัย เมื่อฉินฉื่อหฺวังตี้สิ้นพระชนม์แล้ว หูไฮ่ (胡亥) พระโอรสพระองค์รอง พร้อมด้วยข้าราชการสองคน คือ จ้าว เกา (趙高) กับหลี่ ซือ (李斯) ปลอมแปลงราชโองการโดยเปลี่ยนชื่อผู้สืบทอดราชบัลลังก์จากฝูซูเป็นหูไฮ่ และให้ฝูซูปลงพระชนม์พระองค์เอง ผู้ติดตามบางคนของฝูซูตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับราชโองการ แต่ฝูซูเชื่อว่า เป็นราชโองการจริง จึงยอมปลงพระชนม์พระองค์เองตามนั้น ต่อมา จ้าว เกา บีบให้หูไฮ่ปลงพระชนม์พระองค์เองตามไปด้วยเมื่อ 207 ปีก่อนคริสตกาล และพระโอรสของฝูซู คือ…
ไตฮงโจวซือ
ไต้ฮงกง หรือ ไตฮงโจวซือ (จีน 大峰祖師) เป็นภิกษุมหายานชาวจีนสมัยราชวงศ์ซ่ง ช่วงรัชกาลจักรพรรดิซ่งเหรินจงจนถึงแก่มรณภาพในช่วงประมาณรัชกาลจักรพรรดิซ่งเกาจง ท่านริเริ่มบุกเบิกสงเคราะห์ชาวบ้านเกี่ยวกับการเก็บศพที่ไร้ญาติ ซ่อมแซมถนนหนทางที่ชำรุด และสร้างสะพานในที่ที่ควรสร้างเป็นหลักใหญ่ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งอันเป็นมูลนิธิการกุศลของจีนซ่งเหรินจง (จีน 宋仁宗 พินอิน Sòng Rénzōng 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1010 – 30 เมษายน ค.ศ. 1063 หรือ 14 เมษายน ค.ศ. 1010 [ปีต้าจงเสียงฝู (大中祥符) ที่ 3] – 29 มีนาคม ค.ศ. 1063 [ปีเจียโย่ว (嘉祐) ที่ 8] ตามปฏิทินจีน) ชื่อตัวว่า จ้าว เจิน (จีนตัวย่อ 赵祯 จีนตัวเต็ม 趙禎 พินอิน Zhào Zhēn) เป็นจักรพรรดิองค์ที่ 4 ของราชวงศ์ซ่ง (宋朝) แห่งจักรวรรดิจีน และเมื่อแบ่งราชวงศ์ซ่งออกเป็นสมัยเหนือกับสมัยใต้…
เซียนแปะโรงสี
เซียนแปะโรงสี หรือ อาจารย์โง้ว กิมโคย หรือชื่อขณะยังมีชีวิต นที ทองศิริ และ กิมเคย แซ่โง้ว เป็นชาวจีนที่มีความเชี่ยวชาญด้านพิธีกรรม ความเชื่อจีน และ ฮวงจุ้ย ท่านอาศัยและประกอบธุรกิจโรงสีอยู่ในจังหวัดปทุมธานี หลังท่านเสียชีวิตลงได้รับการยกขึ้นเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และได้รับการเคารพนับถือในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีนในกรุงเทพมหานครและปทุมธานี ท่านเป็นที่รู้จักจากความศักดิ์สิทธิ์ในทางปลดหนี้ การค้า และกันภัย และจาก ยันต์ฟ้าประทานพร ซึ่งเป็นยันต์ประจำตัวของท่านซึ่งได้รับการเคารพบูชาในหมู่นักธุรกิจที่มีเชื้อสายจีน นามเดิมของท่านคือ นายกิมเคย แซ่โง้ว เป็นชาวจีน เกิดที่ตำบลเท้งไฮ้ เมื่อราวปี พ.ศ. 2440 – 2441 เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเมื่อายุได้ราว 10 ปี ต่อมาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ค้าข้าวเปลือก เมื่อตั้งตัวได้จึงร่วมหุ้นก่อตั้งโรงสีข้าวบริเวณปากคลองบางโพธิ์ล่าง ปัจจุบันคือตำบลบางเดื่อ อำเภอเมืองปทุมธานี เมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านได้สมรสกับนางนวลศรี เอี่ยมเข่ง มีบุตรธิดารวม 10 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก 4 คน หลังจากนั้นท่านได้ตั้งกิจการโรงสีของตนเองบริเวณปากคลองเชียงราก ใกล้กับวัดศาลเจ้า พร้อมทั้งได้รับสัญชาติไทย และเปลี่ยนชื่อเป็นนายนที ทองศิริ ท่านมีความสำคัญมากต่อการดำเนินงานของวัดศาลเจ้า บูรณะซ่อมแซม และจัดการพิธีกรรมต่าง ๆ…
ซิ ยิ่นกุ้ย
ซิ ยิ่นกุ้ย (จีนตัวย่อ 薛仁贵 จีนตัวเต็ม 薛仁貴 พินอิน Xuē Rén’guì เวด-ไจลส์ Hsüeh Jengui) เป็นแม่ทัพที่มีพละกำลังมาก และไม่เคยแพ้ใคร และเป็นแม่ทัพที่งักฮุย วีรบุรุษอีกคนในวัฒนธรรมจีนรุ่นต่อมานับถืออีกด้วย แต่เรื่องราวของซิ ยิ่นกุ้ยมักถูกเล่าจนเป็นตำนานจนคล้ายเป็นเรื่องแต่งมากกว่าเรื่องจริง เรื่องราวของซิ ยิ่นกุ้ยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง แต่ได้มีการแต่งเนื้อเรื่องต่อมาในรุ่นลูกและรุ่นหลาน คือ ซิ ติงซาน (薛丁山, Xue Dingshan) และซิ กัง (薛剛, Xue Gang) ซิ ยิ่นกุ้ย เกิดที่มณฑลซานซี ในปี ค.ศ. 614 ตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิสุยหยาง โดยไม่ทราบประวัติก่อนหน้านี้ ทราบแต่เพียงว่าซิ ยิ่นกุ้ยและภรรยามี แซ่เล่า (柳) มีชื่อเดิมว่า ซิ หลี่ (Xue Li, 薛禮) และมาจากครอบครัวชาวนาที่ยากจน ก่อนจะสมัครเป็นทหารจนเติบโตในหน้าที่จนถึงเป็นแม่ทัพใหญ่ รับราชการถึง 2 รัชกาล ในรัชกาลจักรพรรดิถังไท่จง และจักรพรรดิถังเกาจง เป็นแม่ทัพที่มีบทบาทสำคัญในยุคราชวงศ์ถังกับการทำสงครามกับอาณาจักรทางทิศตะวันออก ในปี ค.ศ.…
จักรพรรดิซ่งไท่จู่
ซ่งไท่จู่ ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ ซ้องไทโจ๊ว ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีน 宋太祖 พินอิน Sòng Tàizǔ 21 มีนาคม ค.ศ. 927 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 976) ชื่อตัวว่า จ้าว ควงอิ้น ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ เตียคังเอี๋ยน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (จีนตัวย่อ 赵匡胤 จีนตัวเต็ม 趙匡胤 พินอิน Zhào Kuāngyìn) เป็นขุนศึกคนสำคัญของราชวงศ์โจวยุคหลัง (后周朝) แห่งจีนโบราณ ภายหลังบีบให้ไฉ จงซฺวิ่น (柴宗訓) จักรพรรดิราชวงศ์โจว สละราชบัลลังก์ให้แก่ตน จึงได้ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ คือ ราชวงศ์ซ่ง (宋朝) และขึ้นเป็นปฐมจักรพรรดิตั้งแต่ ค.ศ. 960 จนสิ้นชีวิตเมื่อ ค.ศ. 976 ขณะอยู่ในราชสมบัติ จ้าว ควงอิ้น ปราบปรามรัฐจิงหนาน (荆南), ฉู่ยุคหลัง (後蜀), ถังใต้ (南唐),…
ชฺวี ยฺเหวียน
ชฺวี ยฺเหวียน (จีน 屈原 พินอิน Qū Yuán ราว 340–278 ปีก่อนคริสตกาล)เป็นเสนาบดีและกวีชาวจีนในยุครณรัฐของจีนโบราณ มีชื่อเสียงเพราะความรักชาติและผลงานด้านร้อยกรอง โดยเฉพาะประชุมกวีนิพนธ์เรื่อง ฉู่ฉือ (楚辭) ซึ่งเชื่อกันมาแต่ดั้งเดิมว่า เป็นผลงานของเขา และถือกันว่า เป็นหนึ่งในสองประชุมร้อยกรองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งจีนโบราณ อีกเรื่อง คือ ชือจิง (詩經) นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่า เขาเป็นต้นกำเนิดเทศกาลเรือมังกร (龍船節) อย่างไรก็ดี ปัจจุบันมีผู้โต้แย้งเรื่องเขาเป็นผู้แต่ง ฉู่ฉือ จริงหรือไม่ แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่า เขาเป็นผู้แต่ง หลีเซา (離騷) บทประพันธ์ที่เลื่องชื่อที่สุดในกลุ่มร้อยกรอง ฉู่ฉือ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับเขามีอยู่ไม่มาก เอกสารเก่าแก่ที่สุดที่เอ่ยถึงเขา คือ ร้อยกรองบทหนึ่งซึ่งเจี่ย อี้ (賈誼) ข้าราชการซึ่งถูกให้ร้ายและอัปเปหิไปยังฉางชา (长沙) ประพันธ์ขึ้นเมื่อ 174 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างเดินทางไปฉางชา โดยพรรณนาว่า ตนเองมีชะตากรรมคล้ายชฺวี ยฺเหวียน ในสมัยก่อน แปดปีให้หลัง ซือหม่า เชียน (司馬遷) จึงเขียนประวัติของชฺวี ยฺเหวียน ขึ้นอย่างเป็นทางการครั้งแรก โดยรวมอยู่ในหนังสือชุด…