กิวเทียนเหี่ยงนึ่ง หรือ จิ่วเทียนเสวียนนี่ (จีน 九天玄女, อังกฤษ Xuan Nü) เป็นเทวนารีตามความเชื่อปรัมปราของจีนและเป็นนิยมบูชาในลัทธิเต๋ กิวเทียนเหี่ยงนึ่ง
กิวเทียงเนี่ยเนี้ย เป็นเทพสตรีที่สำคัญในศาสนาเต๋า เป็นเทวนารีที่ปรากฏแต่โบราณกาลของจีน ในตำนานโบราณกล่าวว่า เง็กเซียนฮ่องเต้ ได้มีพระราชโองการแต่งตั้ง ให้สมญานามว่า “กิวเทียงเหี่ยงนึ่ง” หมายถึง เทพสตรีผู้ศักดิ์สิทธิ์ในสวรรค์ทั้ง 9 ชั้น หรือ “กิวเทียงเซี้ยบ้อ” ตามตำนานจีนโบราณระบุว่าทรงเป็นผู้ประทานกำเนิดแห่งราชวงศ์ซาง คือ มีหญิงสาวคนหนึ่งนามว่า เจียนตี๋ วันหนึ่งเธอไปเดินเล่นริมทะเล นกนางแอ่นสีดำตัวหนึ่งได้ปากฏตัวขึ้นและไข่ให้เธอกิน ก่อนที่จะบินลับขอบฟ้าไป เมื่อเจียนตี๋ได้กินไข่นกนั้นเข้าไปเธอจึงตั้งครรภ์ และได้ให้กำเนิดองค์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซาง โดยกล่าวไว้ว่านกนางแอ่นสีดำคือองค์กิ้วเที้ยนเฮี้ยนลื้อ และในตำนานยังปรากฏว่า เหี่ยงนึ่งได้ช่วยเหลือกษัตริย์อึ่งตี่ ในการต่อสู้กับข้าศึกที่ชื่อ ชีอิ๊วเหี่ยงนึ่ง ได้แปลงเป็นนกนางแอ่น แม้ว่าจะไม่สามารถกลับสภาพดังเดิมได้ แต่ก็สามารถแปลงกลับมาในรูปครึ่งเทพครึ่งนก และที่สำคัญคือได้ช่วยเหลือให้กษัตริย์รอดพ้นจากภัยพิบัติได้จากสงคราม ในปัจจุบัน ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย มีสัดส่วนเป็นจำนวนมากถึง 12% (พ.ศ. 2546) ของประชากรทั้งประเทศ ส่วนมากอาศัยอยู่ในเมือง ประกอบอาชีพค้าขาย นอกจากนี้ยังแทรกซึมอยู่ในทุกวงการ อีกทั้งยังเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง นักการเมือง รวมทั้งเชื้อพระวงศ์ก็ยังมีเชื้อสายจีนด้วย
เหตุที่ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย สามารถผสมกลมกลืนกับชาวไทยได้ดียิ่ง ก็เพราะการแต่งงานข้ามเชื้อชาติ แม้ในสมัยก่อนจะมีในอัตราน้อย เพราะชาวไทยและชาวจีนบางกลุ่มยังถือเรื่องการแบ่งแยกเชื้อชาติ แต่ปัจจุบัน แทบจะไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติให้เห็น คนไทยรับเอาวัฒนธรรมจีนไปปฏิบัติในหลายเรื่อง และชาวจีนก็เช่นกัน ชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศไทย เรียกตนเองว่า ชาวไทยเชื้อสายจีน ด้วยสำนึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชาวไทยภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ไทย แต่ก็ยังคงรำลึกถึงบรรพบุรุษและยังรักษาประเพณีของตนตำนานเจ็ดนางฟ้า บางครั้งก็เรียกว่า ตำนานรักหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า กล่าวถึงหนุ่มเลี้ยงวัวคนหนึ่งชื่อ หนิวหลาง (จีน 牛郎 พินอิน niú láng แปลตรงตัวว่า เด็กเลี้ยงวัว หมายถึงดาวอัลแทร์) บังเอิญไปพบนางฟ้าเจ็ดองค์เสด็จลงจากสวรรค์เพื่อมาเล่นน้ำในทะเลสาบ วัวตัวหนึ่งของเขากระซิบบอกวิธี เขาจึงไปขโมยเสื้อผ้าของพวกนางมาแล้วคอยเฝ้าดู เมื่อนางฟ้าทั้งเจ็ดองค์เล่นน้ำเสร็จแล้วหาเสื้อผ้าของตนไม่พบ จึงให้น้องสาวคนสุดท้องชื่อ จือหนี่ (จีนตัวย่อ 织女 จีนตัวเต็ม 織女 พินอิน zhī nǚ แปลตรงตัวว่า หญิงทอผ้า หมายถึงดาวเวกา) เพื่อมาเจรจาขอเสื้อผ้าคืน หนิวหลางขอให้นางแต่งงานกับเขา และนางก็ยินยอม นางฟ้าผู้พี่ทั้งหมดจึงได้กลับคืนสู่สวรรค์ ส่วนจือหนี่ได้อาศัยอยู่กับหนิวหลาง และเป็นภรรยาที่ดียิ่ง หนิวหลางรักนางมาก ทั้งสองมีบุตรด้วยกัน 2 คน จือหนี่มีฝีมือในการทอผ้า ผ้าที่นางทอจะมีสีสันสวยงามไม่มีผู้ใดทัดเทียมได้ พวกเขานำไปขายได้เงินดีและมีชีวิตที่ดี
เง็กเซียนฮองเฮาผู้เป็นมารดาของเหล่านางฟ้า เมื่อได้ทราบว่าบุตรสาวของตนไปแต่งงานกับคนธรรมดาก็กริ้วโกรธ ออกคำสั่งให้จือหนี่กลับสู่สวรรค์ ฝ่ายหนิวหลางเมื่อกลับมาพบภรรยาของตนหายตัวไปก็เศร้าโศกเสียใจ ทันใดนั้นวัวของเขาก็เอ่ยคำพูดออกมาอีกครั้ง บอกให้หนิวหลางฆ่าตนเสีย แล้วเอาหนังคลุมร่างเพื่อจะได้ไปสวรรค์ตามหาภรรยาได้ หนิวหลางฆ่าวัวด้วยน้ำตา ครั้นเมื่อเอาหนังมาคลุมร่างเขากับบุตรทั้งสองก็เหาะไปยังแดนสวรรค์ตามหาจือหนี่ เง็กเซียนฮองเฮาพบพวกเขาขึ้นมาบนสวรรค์ก็โกรธ ดึงปิ่นปักผมของนางออกมาแล้วกรีดท้องฟ้าออกกลายเป็นแม่น้ำกว้าง ทำให้คู่รักทั้งสองต้องแยกจากกันตลอดกาล (แม่น้ำนั้นบนโลกรู้จักในชื่อ ทางช้างเผือก ซึ่งกั้นขวางระหว่างดาวอัลแทร์กับดาวเวกา) จือหนี่เฝ้าแต่ทอผ้าคอยอยู่ฟากหนึ่งของแม่น้ำอย่างเศร้าสร้อย ขณะที่หนิวหลางดูแลบุตรสองคนของพวกเขา (คือดาวข้างเคียงในกลุ่มดาวเดียวกัน ได้แก่ β อินทรี และ γ อินทรี) ทว่ามีเพียงวันเดียวในรอบปี ที่เหล่านกกระเรียนจะมาเรียงตัวกันด้วยความเมตตาสงสาร เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเพื่อให้คนทั้งสองสามารถข้ามมาพบกัน (เรียกว่า 鵲橋 Que Qiao ฉวีเฉียว หรือสะพานนกกระเรียน) สะพานทอดข้ามดาวเดเน็บในกลุ่มดาวหงส์ ทำให้จือหนี่ หนิวหลาง และลูก ๆ มาพบกันได้ในวันที่ 7 เดือน 7 ของปี เพียงวันเดียวเท่านั้น เล่ากันว่าถ้ามีฝนตกในคืนแห่งเลขเจ็ด นั่นคือน้ำตาของหนิวหลางและจือหนี่ที่ร่ำไห้กับความรันทดในชีวิตของตน
เมื่อผู้นำหรือรัฐบาลดี เป็นที่พอใจของประชาชนแล้ว ประชาชนก็จะรักเทิดทูนผู้นำหรือรัฐบาลนั้น ทั้งจะถือผู้นำหรือรัฐบาลคนนั้นเป็นแบบอย่าง เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้นำหรือรัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องใช้พระเดชปกครองบ้านเมือง ความดีของผู้นำหรือรัฐบาลจะเป็นหลักประกัน เกิดเป็นแรงดึงดูดให้ประชาชนทำตาม ดุจฝูงโคก็ย่อมไปตามจ่าฝูง ฉันนั้น ดังที่หลีคังจื้อถามขงจื๊อว่า “จะฆ่าพวกทุจริตให้หมด เพื่อรักษาคนสุจริตให้อยู่อย่างปกติสุขจะดีหรือไม่ ขงจื๊อ “ถ้าท่านเป็นผู้ปกครองที่ดี ทำไมจะต้องใช้วิธีฆ่าฟันกันด้วยเล่า ถ้าท่านทำตัวให้ดี ประชาชนก็จะถือเอาเป็นแบบอย่างเอง ผู้ปกครองเหมือนลม ประชาชนดุจหญ้า
ธรรมดาหญ้าย่อมลู่ไปตามลม” ขงจื๊อมีความเห็นว่า ผู้ปกครองที่ดีจะต้องฟังเสียงประชาชนถือเสียงประชาชนเป็นเสียงสวรรค์ ประชาชนต้องการอะไร ก็ต้องตอบสนอย่างนั้น เป็นฝ่ายประชาชนตลอดเวลา ดังที่ขงจื๊อกล่าวว่า “สิ่งใดที่ประชาชนพอใจ เราจงพอใจ สิ่งใดที่ประชาชนเกลียดชัง เราก็จงเกลียดชัง ผู้ใดทำอย่างนี้ ผู้นั้นเชื่อว่าเป็นบิดามารดาของประชาชน” ถ้าใครทำได้ดังกล่าว ก็จะสามารถอยู่ในตำแหน่งได้นาน เพราะไม่ถูกเล่นงานจากประชาชน แต่ถ้าทำตรงกันข้ามก็จะหลุดจากตำแหน่งในเร็ววัน ดังที่ขงจื๊อกล่าวว่า “ผู้ที่ได้ประชาชนไว้ก็เท่ากับได้รัฐไว้ ส่วนผู้ที่ละทิ้งประชาชนก็เท่ากับเสียรัฐไปด้วย” ข้อนี้แสดงว่า เสียงประชาชนมีความสำคัญกว่าสิ่งใดหมด ผู้นำหรือรัฐบาลก็ต้องฟังเสียงประชาชน ใช้เสียงประชาชนเป็นปรอทวัดอุณหภูมิของการปกครอง ตัดอย่างอื่นพอตัดได้ แต่จะตัดเสียงประชาชนนั้นไม่ได้ ดังที่จื่อก้งถามขงจื๊อ ดังต่อไปนี้